กิจกรรมที่ 1
ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุด
แล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ
1. กฎหมาย คือ
บรรดาข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองและใช้บังคับความประพฤติของบุคคล
อันเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและต้องถูกลงโทษ
และเมื่อปฏิบัติตามก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือต่อสังคม
2. สิทธิมนุษยชน หมายถึง
สิทธิ ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งไม่สามารถจำหน่าย จ่าย โอน
หรือแจกให้กับผู้หนึ่งผู้ใดได้ สิทธิดังกล่าวนี้มีความเป็นสากลและเป็นนิรันดร์
3. นิติกรรม หมายความว่าการใดๆอันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย
และด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ
เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือ ระงับซึ่งสิทธิ (มาตรา 149)
4. กลฉ้อฉล คือ
การใช้อุบายและหลอกลวงด้วยวิธีกล่าวเท็จหรือปกปิดซึ่งข้อความจริงจนทำให้คู่กรณีหลงผิดหรือเข้าใจผิด
จึงแสดงเจตนาเข้าทำนิติกรรมด้วย
5. โมฆะกรรม คือ นิติธรรมที่ตกเป็นอันเสียเปล่า
ใช้บังคับไม่ได้ ไม่เกิดผลในทางกฎหมายไม่ทำให้คู่กรณีมีความผูกพันกัน
6. โมฆียะกรรม คือ นิติกรรมที่ทำขึ้นแล้วมีผลตามกฎหมาย
จนกว่าจะถูกบอกล้างทำนิติกรรมนั้นเป็นโมฆะนับแต่วันแรกเริ่มทำนิติกรรม
แต่ถ้ามีการให้สัตยาบันนิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรกใช้ได้ตลอดไป
7. สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งบุคคลทุกคนพึงมีพึงได้
โดยไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น
8. สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งที่บุคคลได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคม
แบ่งออกเป็นสถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น ลูก หลาน คนไทย เป็นต้น
และสถานภาพทางสังคม เช่น ครู นักเรียน แพทย์ เป็นต้น
9. หน้าที่ หมายถึง ภาระรับผิดชอบของบุคคลที่จะต้องปฏิบัติ
เช่น หน้าที่ของบิดา ที่มีต่อบุตร เป็นต้น
10. เสรีภาพ หมายถึง
ความมีอิสระในการกระทำของบุคคลที่อยู่ในของเขตของกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการพูด
การเขียน เป็นต้น
11.บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามสิทธิ
หน้าที่อันเนื่องมาจากสถานภาพของบุคคล เนื่องจากบุคคลมีหลายสถานภาพในคนคนเดียว
ฉะนั้นบทบาทของบุคคลจึงต้องปฏิบัติไปตามสถานภาพในสถานการณ์ตามสถานภาพนั้น ๆ
12.ภาษีอากร คือเงินที่รัฐ
หรือท้องถิ่นเก็บจากบุคคลทั่วไปเพื่อใช้จ่ายในการบริหารประเทศ หรือท้องถิ่น
เช่นภาษีเงินได้ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีสรรพสามิต อากรแสตมป์ เป็นต้น
ที่มา :
ไพศาล ภู่ไพบูลย์. (2552). กฎหมายอื่นที่ควรรู้ (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2141 [10 พฤศจิกายน 2555]
ผศ.วิชัย ภู่โยธิน และคณะ.หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ม.4-ม.6 .พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์
ปาริฉัตร สินธุวงศ์. (2554). ความหมายของ สถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://parichut.wordpress.com [9พฤศจิกายน 2555].
ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
ไพศาล ภู่ไพบูลย์. (2552). กฎหมายอื่นที่ควรรู้ (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2141 [10 พฤศจิกายน 2555]
ผศ.วิชัย ภู่โยธิน และคณะ.หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ม.4-ม.6 .พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์
ปาริฉัตร สินธุวงศ์. (2554). ความหมายของ สถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://parichut.wordpress.com [9พฤศจิกายน 2555].
ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น