24/12/55


กิจกรรมที่ 2
ตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
  ตอบ -  มาตรา 4 ฉบับใหม่ กำหนดว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาพของบุคคล ทั้งที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญนี้ ตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ย่อมได้รับการคุ้มครอง"
เพิ่มความคุ้มครองให้ชัดเจนขึ้นว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพของบุคคลได้รับความคุ้มครองทั้งตามรัฐธรรมนูญนี้ ประเพณีการปกครองของประเทศและพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศมีอยู่ โดยคุ้มครองรวมไปถึงความเสมอภาคของบุคคลด้วย ซึ่งเป็นข้อความเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
   ตอบ - หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
      ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
      มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่าง   ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
      มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน

3.ประด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
   ตอบ  - การออกเสีงประชามติ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2550
    - ประการใช้รัฐธรรมนูญ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2550
    -  กฎหมายการสมรส ที่สมบูรณ์นั้น จะต้องมีการจดทะเบียนสมรส เพื่อให้ถูกต้องทางด้านนิตินัย
      คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส

จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
* คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
* สมรสกับคู่สมรสเดิม
* มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
* ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอก   เหตุผลประกอบการอภิปราย
 ตอบ  มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันในสังคม   การอยู่รวมกลุ่มกันของมนุษย์ในสังคมทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ที่วางระเบียบ   และกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์เองตามสภาพบังคับของสังคมนั้นๆ ทั้งนี้ เมื่อสังคมต้องการระเบียบ  กฎเกณฑ์  หรือ  กฎหมาย  ฉันใด ประเทศก็ย่อมต้องการ รัฐธรรมนูญ  ฉันนั้นดังสุภาษิตกฎหมายที่ว่า มีสังคมอยู่ที่ไหนมีกฎหมายอยู่ที่นั่น นั่นเอง รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด  มีการกำหนดความสำคัญขององค์กรทางการเมืองระบุอำนาจหน้าที่เป็นหลักประกันคุ้มครองสิทธิเสรีภาพหน้าที่ของประชากรในรัฐ  อำนาจอธิปไตยการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมีหลักการสำคัญว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภาคณะรัฐมนตรี
และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศซึ่งประกอบด้วย  อำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  และอำนาจตุลาการ

5.      นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบ  ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากจะแก้ไขควรแก้ไขเพียงบางมาตราเท่านั้น เพราะส่วนตัวเชื่อว่าการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเฉพาะคนบางกลุ่ม การแก้ไขรัฐธรรมนูญควรยึดหลักผลประโยชน์ของประเทศชาติ หลักการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ หลักยุติธรรม และความขัดแย้งทางการเมืองด้วยความเป็นธรรม ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรมีลักษณะในการเคารพสิทธิหน้าที่ของทุกฝ่ายในชาติอย่างเป็นธรรม และมีความเสมอภาค ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายอย่างกว้างขวาง และสามารถขจัดปัญหาการทุจริตและความเหลื่อมล้ำในสังคมได้

6.      ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
ตอบ  อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 อำนาจนี้ คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ  ฝ่ายบริหาร  และฝ่ายตุลาการจะต้องมีอำนาจในการทำงานเท่าเทียมกันและใช้อำนาจอย่างเหมาะสม เป็นกลาง ไม่ยกผลประโยชน์แก่ตนเอง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเสถียรในการปกครองบ้านเมือง อำนาจทั้ง 3 เมื่อมีความสมดุลซึ่งกันและกันและสามารถนำพาประเทศให้มีความเจริญยิ่งขึ้นและมีความมั่นคงที่จะรักษาเสถียรภาพต่อการบริหารบ้านเมือง อันจะพาบ้านเมืองไปสู่ความสงบสุขได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น